ความรู้

ความรู้

ทำความรู้จัก แคชเชียร์เช็ค อีกหนึ่งวิธีการจ่ายที่ปลอดภัย

วันที่สร้างประกาศ เวลาสร้าง 11 กุมภาพันธ์ 2565 10:39
คงแทบไม่มีใครที่คิดจะพกเงินสดเป็นจำนวนหลายล้าน เพื่อไปซื้อบ้านซื้อรถหรือสิ่งของที่มีมูลค่าหรอกจริงไหม เพราะในเมื่อเรามีวิธีที่ง่ายกว่านั้น อย่างการเซ็นเช็คใบเดียวก็เป็นอันจบซึ่ง แคชเชียร์เช็ค เป็นอีกหนึ่งวิธีการจ่ายที่ใช้แทนเงินสด ได้ดีเลยทีเดียว
แคชเชียร์เช็ค (Cashier Cheque) คืออะไร?
หนึ่งในประเภทของ เช็คที่ออกโดยธนาคาร ซึ่งมีการระบุชื่อผู้รับและจำนวนเงินไว้อย่างชัดเจน โดยผู้ซื้ออาจจะจ่ายด้วยเงินสดหรือให้ธนาคารหักจากบัญชี ตามจำนวนที่เขียนกำกับไว้ในเช็ก พร้อมเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท จึงทำให้มั่นใจได้ว่ายังไงก็ได้เงินแน่นอน
ความแตกต่างจากเช็กทั่วไป
โอกาสที่แคชเชียร์เช็คจะเด้งมีเปอร์เซ็นต์น้อยกว่าเช็กปกติทั่วไป อีกทั้งผู้ซื้อแคชเชียร์เช็คไม่จำเป็นต้องมีบัญชีเงินฝากกับธนาคารที่จะออกเช็ก ในขณะเดียวกันเช็คทั่วไปผู้สั่งจ่ายอาจเป็นในนามบริษัท หรือบุคคลธรรมดาก็ได้ แต่แคชเชียร์เช็คผู้สั่งจ่ายต้องเป็นธนาคารเท่านั้น
A/C payee only (Account payee only) หมายถึง
เป็นการระบุว่า ต้องนำเงินเข้าบัญชี ของผู้ที่มีชื่ออยู่ในแคชเชียร์เช็คเท่านั้น ไม่สามารถโอนให้ใครได้ แต่ถ้าผู้ซื้อไม่ได้ระบุว่าเป็น A/C payee only ทางผู้รับเช็คจะสลักหลังโอนเช็คไปให้บัญชีในชื่อคนอื่น หรือจะเป็นชื่อตัวเองก็ได้แล้วแต่สะดวก
ตรวจสอบว่าแคชเชียร์เช็คปลอมหรือไม่
แม้มีโอกาสน้อยแต่ก็อาจมีสิทธิ์ที่จะถูกปลอมได้ แนะนำให้ทางผู้จ่ายถ่ายรูปเช็คส่งมาให้ทางผู้รับตรวจสอบก่อน โดยเราสามารถโทรไปหาธนาคารที่ออกเช็กให้ ว่าหมายเลขแคชเชียร์เช็คนั้น ทางธนาคารเป็นคนออกให้จริงรึเปล่า พอถึงวันนัดรับก็ตรวจดูอีกทีว่าตรงกันไหม เพื่อเป็นการป้องกันอีกทีหนึ่ง
ถ้าหายทำยังไง หรือยกเลิกได้ไหม
ถึงแม้ว่าจะมีการระบุ A/C payee only เพราะต่อให้มีคนหยิบได้ก็ไม่สามารถนำไปขึ้นเงินได้ แต่ก็ให้รีบแจ้งสาขาธนาคารที่ออกเช็ก เพื่อให้รับระงับการจ่ายเงินไว้ก่อน และก็ไปแจ้งความลงบันทึกประจำวัน แล้วนำมายื่นกับธนาคารเพื่อให้ออกเช็คให้ใหม่ หรือในกรณีที่ต้องการยกเลิกผู้ซื้อแคชเชียร์เช็คต้องนำเช็ค ใบเสร็จ และบัตรประชาชน ไปติดต่อที่สาขาธนาคาร เพื่อทำเรื่องยกเลิกในการขอเงินคืน
ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า แคชเชียร์เช็ค มีความปลอดภัยทั้งในเรื่องลดความเสี่ยงการพกเงินสด และเป็นการป้องกันเช็คเด้ง รวมถึงไม่มีวันหมดอายุ นอกจากนี้ยัง

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

ดูหัวข้ออื่นเพิ่มเติม