ความรู้

ความรู้

มีข่าวที่ป้าคนนึงไปซื้อที่ดินแถวนนทบุรี เป็นที่ดินในเขตแนวเส้นสายไฟฟ้าแรงสูง ซึ่งที่ดินที่อยู่ในแนวนี้ ไม่สามารถสร้างอะไรได้เลย แม้กระทั่งบ้าน 1 ชั้น

matching
วันที่สร้างประกาศ เวลาสร้าง 13 พฤศจิกายน 2566 15:24
มีข่าวที่ป้าคนนึงไปซื้อที่ดินแถวนนทบุรี
เป็นที่ดินในเขตแนวเส้นสายไฟฟ้าแรงสูง
ซึ่งที่ดินที่อยู่ในแนวนี้
ไม่สามารถสร้างอะไรได้เลย
แม้กระทั่งบ้าน 1 ชั้น
ถึงป้าจะอ้างว่าไม่รู้กฏหมาย
แต่ FC ทุกคนต้องรู้เรื่องนี้นะ
เรามาดูกันว่ามีกฏระเบียบหรือข้อบังคับใด
เกี่ยวกับการสร้างที่ดินในแนวสายไฟฟ้าแรงสูงบ้าง
ที่ดินที่อยู่ใต้สายไฟฟ้าแรงสูง
ห้ามสร้างสิ่งก่อสร้างและปลูกต้นไม้สูง
เช่น บ้านเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ
รวมถึงปลูกต้นไม้
ซึ่งจะต้องทำตามกฏของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
หลายๆคนที่มีที่ดินมีเสาไฟฟ้าแรงสูงอยู่
จะชอบตั้งราคาที่ดินราคาถูก
ผู้ซื้อบางคนคงไม่รู้ว่า
ห้ามสร้างสิ่งปลูกสร้างในบริเวณที่ติดเสาไฟฟ้าแรงสูง
ซึ่งมีข้อกำหนดอยู่มาก
ข้อกำหนดและข้อห้ามสำหรับที่ดินที่อยู่ใต้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง
ตามประกาศการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
เรื่องข้อกำหนดเขตเดินสายไฟฟ้า
อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511
โดยที่ดินที่ตั้งอยู่ภายใต้แนวสายไฟฟ้าแรงสูงจะถูกรอนสิทธิ
กำหนดไว้ดังนี้

1.ห้ามปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างอสังหาทุกชนิด
ไม่ว่าจะเป็น อาคาร บ้านเรือน
หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆทุกชนิด
ในเขตเดินสายไฟฟ้า

2.บริเวณพื้นที่ที่ตั้งเสา
และพื้นที่โดยรอบโคนเสา
ภายในระยะห่างจากแนวขาเสา 4 เมตร
ห้ามปลูกต้นไม้ หรือพืชผลทุกชนิด

3.บริเวณพื้นที่ในเขตเดินสายไฟฟ้า
ของสายส่งไฟฟ้า ระดับแรงดัน 500,000 โวลต์
ห้ามปลูกอ้อย

4.ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
อันเป็นอันตรายแก่ระบบไฟฟ้า
เช่น ห้ามนำวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรกล
เช่น รถเครน รถยก รถตัก รถขุด
เข้าใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงน้อยกว่า 00 เมตร
หรือห้ามเผ่าไร้อ้อย นาข้าว ป่าพง
หรือวัสดุอื่นใดในเขตแนวสายไฟฟ้า

5.ห้ามกระทำการใดๆ
เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นดิน
บริเวณพื้นที่ในเขตเดินสายไฟฟ้า
เช่น การปรับสภาพพื้นดินให้สูงขึ้น การขุดดิน การขุดบ่อ การก่อสร้างถนน
จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรการ กฟผ.ก่อน
ขนาด (กิโลวัลต์) ระยะห้ามจากแนวศูนย์กลางของเสาส่งไฟฟ้า ด้านละ
69 กิโลวัลต์ 9 เมตร
115 กิโลโวลต์ 12 เมตร
132 กิโลโวลต์ 12 เมตร
230 กิโลโวลต์ 20 เมตร
300 กิโลโวลต์ 20 เมตร
500 กิโลโวลต์ 40 เมตร
เพราะฉะนั้นแล้ว การก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง
หรือต้นไม้หรือพืชผลที่เกิดขึ้น โดยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
หรือไม่ได้รับอนุญาต
เป็นผลให้ กฟผ.มีอำนาจรื้อถอน ทำลาย
โดยไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนใดๆทั้งสิ้น
Q1:แล้วที่ดินใต้แนวสายไฟฟ้าทำอะไรได้บ้าง และ มีมูลค่าอยู่หรือไม่
A1: จะเห็นว่าที่ดินใต้แนวสายไฟฟ้าแทบใช้ประโยชน์ไม่ได้แล้ว
สามารถใช้ประโยชน์ได้ไม่กี่อย่าง เช่น เป็นที่จอดรถ (เก็บเงิน)
เป็นพื้นที่จัดสวน
หรือเป็นพื้นที่ส่วนกลางของหมู่บ้านที่ห้ามปลูกต้นไม้สูง
เมื่อมีข้อจำกัดการก่อสร้างและการใช้ประโยชน์
ก็ทำให้ส่งผลต่อราคาที่ดิน
ผู้ประเมินมักจะไม่ทำการประเมินให้

เนื่องจากเห็นว่าแทบใช้ประโยชน์ไม่ได้แล้ว
มูลค่าเมื่อมีที่ดินก็ควรมีมูลค่าอยู่
แต่ราคาก็จะถูกลงมาก
เพราะแทบใช้พัฒนาโครงการอสังหาฯ ปลูกบ้าน อะไรไม่ได้เลย
ยิ่งเป็น ต่างจังหวัด ก็ได้แค่ ทำนา ปลูกผัก
Q2: ที่ดินใต้แนว สายไฟฟ้าแรงสูง จำนองได้ไหม
A2:ที่ดินติดเสาไฟฟ้าแรงสูง
จึงไม่มีผู้ใดรับจำนองที่ดินประเภทนี้
เพราะการมีที่ดินเหล่านี้ในครอบครอง
ยากต่อการนำไปใช้ประโยชน์ต่อ
และหากต้องการนำไปใช้ประโยชน์
ก็ต้องยื่นเรื่องขอกับ กฟผ.
Q3 : ค่ารอนสิทธิ์ที่การไฟฟ้าให้กับเจ้าของที่ดิน เนื่องจากเจ้าของที่ดินไม่สามารถทำประโยชน์ในที่ดินตัวเองได้ ถ้ามีการเปลี่ยนมือแล้ว เจ้าของใหม่จะได้ค่ารอนสิทธิ์อีกมั้ย
A3 : ไม่ได้ การไฟฟ้าจะให้ค่ารอนสิทธิ์กับเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ณ เวลานั้นๆเท่านั้น
ดังนั้น ถ้าจะต้องมีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ใดๆ
อย่าลืมปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ #อย่างผม
เพื่อธุรกรรมอันราบรื่นนะครับ 🥰🙏
ปล.Tie-in เฉย

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

ดูหัวข้ออื่นเพิ่มเติม