นิทานอสังหา EP.3: เจ้าของบ้านหรูกับผู้เช่าในฝัน...ที่กลายเป็นฝันร้าย
เธอมีอสังหาริมทรัพย์หลากหลายรูปแบบ ทั้งปล่อยเช่า ขายต่อ รีโนเวทขาย และปล่อยเช่าแบบ short stay
"ค่าเช่าไม่พอผ่อน", "ผู้เช่าหนี", “ห้องพัง”, "ซ่อมไม่จบ", "กู้ไม่ผ่าน"
เรียกว่าเธอเจอมาเกือบทุกรูปแบบ
บ้านหลังนี้ เธอไม่ได้อยากขาย เพราะมันคือ Flagship ของชีวิตนักลงทุนและเธอก็มั่นใจว่า…มันต้องทำงานให้เธอได้ในฐานะเครื่องจักรผลิตเงิน
เธอจึงตั้งราคาค่าเช่าไว้ที่ 350,000 บาท/เดือน โดยไม่สนใจว่าในตลาดหลังคล้ายกันปล่อยแค่ 190,000–200,000 บาท
คุณพิชญาเคยเจอลูกค้าคนไทยที่ต่อราคาแรงขอหักค่าเช่าแล้วรีโนเวทเองเธอเหนื่อยกับความจุกจิกแบบนั้นมานาน
“ลองเปิดรับลูกค้าชาวจีนไหมครับ? บางคนอยู่ไทยไม่กี่เดือน เช่าเพื่อทำธุรกิจ แต่จ่ายตรง ตัดสินใจเร็วมาก บางคนจ่ายล่วงหน้า 6 เดือนเลย”
และแล้วคนๆนั้นก็มาจริงๆ ชายหนุ่มจีนวัยราว 30 ขับรถอัลพาร์ดมาจอดหน้าบ้านแต่งตัวแบรนด์เนมพร้อมกระเป๋าเงินสดหนาเตอะ
เดินดูบ้านแค่ 15 นาที แล้วบอกว่า
ไม่มีข้อตกลงแปลกๆ
ไม่มีสัญญาเช่าผูกมัด
แต่เดือนที่ 2
“บ้านหลังนี้มีรถเข้าออกตอนตีสามแทบทุกคืน พวกเรานอนไม่หลับเลย”
เธออ่านข้อความ... แล้วเลื่อนผ่าน เธอบอกตัวเองว่า
"คนจีนอาจทำธุรกิจแบบ dropshipping หรือ live ขายของตอนกลางคืนก็ได้"
ในบ้านเต็มไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อสายไฟยุ่งเหยิงและพบหลักฐานการฟอกเงินมูลค่ารวมเรียกว่า งบกระทรวงย่อมๆและพบว่าบ้านของคุณพิชญา คือ safehouse สำหรับผู้ต้องหา ในเครือข่ายไซเบอร์ข้ามชาติ
เธอถูกเรียกสอบทันทีไม่ใช่ในฐานะผู้สมรู้ร่วมคิดโดยตรงแต่ในฐานะ
“คุณปล่อยให้บ้านของคุณกลายเป็นที่ทำธุรกิจผิดกฎหมาย โดยไม่ทำอะไรเลย”
บ้านหรูไม่ใช่เครื่องมือแสดงศักดิ์ศรีค่าเช่าแพงไม่ใช่ตัววัดประเภทของผู้เช่าและความเพิกเฉยของเจ้าของบ้าน ไม่ได้แปลว่าเราจะรอดพ้นจากความผิด
“เหยื่อของความมั่นใจตัวเอง”
บ้านหลังนั้น…
คือทรัพย์สินที่มีมูลค่าแต่เมื่ออยู่ในมือคนที่คิดแต่จะใช้มันเพื่อทำเงิน โดยไม่มองผลกระทบมันก็กลายเป็น “ตัวเร่งความพังทลาย” ของชื่อเสียงและชีวิตทางการเงินได้อย่างรวดเร็ว
มีได้ 3 กรณีหลัก
เช่น ผู้กระทำผิดเป็นเจ้าของบ้าน ใช้บ้านเป็นสถานที่กระทำผิดศาลมีคำสั่งริบทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ฟอกเงิน หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. บ้านไม่ได้เป็นของผู้กระทำผิด แต่พิสูจน์ได้ว่าเจ้าของรู้เห็นเป็นใจ
เช่น เจ้าของบ้านรู้ว่ามีการกระทำผิดในบ้านแต่ไม่ดำเนินการใด ๆ เพื่อหยุดยั้ง หรือมีพฤติกรรมเอื้ออำนวยแบบนี้มีสิทธิ์โดน “อายัด” ไว้ก่อนเพื่อสอบสวน
ใน พ.ร.บ.ฟอกเงิน มาตรา 3-4 นิยาม “ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด” ว่าแม้จะไม่ได้เป็นของผู้กระทำผิดโดยตรง แต่หากเกี่ยวข้อง เชื่อมโยง หรือใช้ในการกระทำผิด
“สามารถอายัดได้”
3. บ้านเป็นหลักฐานในคดีอาญา
เช่น มีอุปกรณ์ผิดกฎหมายซุกซ่อนในบ้าน มีผู้ต้องหาหลบซ่อน หรือใช้เป็น safehouseบ้านอาจถูก “อายัดชั่วคราว” เพื่อการตรวจสอบถ้าพิสูจน์ได้ว่าเจ้าของไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเลยจริง ๆ จะคืนให้ในภายหลัง
✅ แต่เธอปล่อยเช่าโดยไม่ตรวจสอบ
✅ รับเงินสดจำนวนมากโดยไม่มีเอกสาร
✅ ไม่เคยเข้าไปดูทรัพย์ ไม่ตั้งข้อห้ามใด ๆ ในสัญญาเช่า
✅ ปล่อยให้บ้านกลายเป็นแหล่งทำกิจกรรมผิดกฎหมาย